เรื่องน่ารู้ ระบบน้ำภายในบ้าน
ระบบน้ำในบ้านพักอาศัยนั้นมีด้วยกัน 2 ระบบ คือ ระบบน้ำดีและระบบน้ำทิ้ง ระบบน้ำดีเป็นการต่อท่อประปาจากมิเตอร์หน้าบ้านเข้ามาใช้ภายในบ้าน
ระบบน้ำในบ้าน โดยทั่วไปน้ำจากการประปามักมีแรงดันต่ำ จึงมักเกิดปัญหาเมื่อต้องใช้งานในบ้านสูงกว่า ถ้าบ้านอยู่ในพื้นที่ที่มีบ้านเรือนหนาแน่นก็จะเกิดการแย่งกันใช้น้ำ อย่างเช่น วันเสาร์-อาทิตย์คนส่วนใหญ่มักอยู่บ้านซักเสื้อผ้า รดน้ำต้นไม้ ทำความสะอาดบ้าน ล้างรถ ทำให้แรงดันน้ำต่ำลง จนบางครั้งน้ำไม่ไหลเลย(ก็มี) ดังนั้นเราจึงนิยมใช้ปั๊มน้ำมาช่วยเพิ่มแรงดันน้ำให้สูงขึ้น สามารถติดตั้งได้หลายรูปแบบ แต่ในที่นี้ขอแนะนำ 2 ระบบที่นิยมใช้งานกันดังนี้
ระบบที่ 1 เป็นระบบที่นิยมกันมาก โดยติดตั้งปั๊มน้ำกับแท็งก์น้ำที่อยู่ชั้นล่าง อาจตั้งไว้หน้าบ้านหรือหลังบ้านก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมในการเดินท่อน้ำเข้าสู่ตัวบ้าน โดยหลักการเราจะตั้งแท็งก์เพื่อเก็บน้ำที่ผ่านจากมิเตอร์หน้าบ้าน แล้วจึงต่อมายังปั๊มน้ำเพื่อเพิ่มแรงดันน้ำ ให้สามารถจ่ายน้ำขึ้นไปยังชั้นที่อยู่สูงขึ้นไปได้ระบบนี้ปั๊มจะทำงานเมื่อเปิดใช้น้ำและหยุดทันทีเมื่อปิดน้ำ หากไม่มีผู้ใช้น้ำแต่ปั๊มยังทำงานเองเป็นครั้งคราว นั่นแสดงว่าในระบบท่อน้ำดีมีการรั่วซึม จำเป็นต้องตรวจสอบและแก้ไขกันต่อไป
ระบบที่ 2 เหมาะกับบ้านขนาดใหญ่ที่มีผู้อยู่อาศัยจำนวนมาก มีห้องน้ำหลายห้อง และมักใช้งานพร้อมๆกัน ทำให้ระบบที่ 1 จ่ายน้ำไม่เพียงพอ จุดเริ่มของระบบที่ 2 นี้ จะคล้ายระบบที่ 1 คือ ติดตั้งแท็งก์ตัวที่ 1 ต่อจากมิเตอร์หน้าบ้าน แล้วต่อท่อมายังปั๊มน้ำ จากนั้นต่อท่อขึ้นไปยังแท็งก์ตัวที่ 2 ซึ่งอยู่บนอาคาร (ระดับสูงกว่าห้องน้ำชั้นบนสุดของบ้านประมาณ 6 เมตร) อาจตั้งอยู่บนพื้นหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) หรือวางบนขาตั้งเหล็กสูงที่ตั้งบนดาดฟ้าอีกทีหนึ่งก็ได้ และแท็งก์ตัวที่ 2 นี้ จะทำหน้าที่จ่ายน้ำไปยังจุดใช้น้ำต่างๆภายในบ้านระบบนี้ต้องใช้งบประมาณสูงกว่าระบบที่ 1 แต่จะประหยัดค่าไฟ เพราะปั๊มน้ำจะทำงานน้อยกว่า กล่าวคือ ระบบที่ 1 ปั๊มน้ำจะทำงานทุกครั้งที่มีผู้ใช้น้ำ แต่ระบบที่ 2 ปั๊มน้ำจะทำงานเมื่อปริมาณน้ำในแท็งก์ตัวที่ 2 ลดลงประมาณหนึ่งในสาม ปั๊มจะดันน้ำเข้าไปเติมให้เต็มแท็งก์ดังเดิม ห้ามต่อปั๊มน้ำเข้ากับมิเตอร์หน้าบ้านเพื่อดึงน้ำจากท่อประปาโดยตรง นอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว หากน้ำประปาหยุดไหลหรือไหลน้อยจะทำให้ปั๊มน้ำเสียหายหรือไหม้ได้ ควรเลือกปั๊มน้ำที่มีกำลังมอเตอร์ของปั๊มให้เหมาะกับขนาดของบ้านและพฤติกรรมการใช้น้ำถ้าเป็นบ้านเดี่ยวชั้นเดียวหรือทาวน์เฮ้าส์ อยู่กันแค่ 2-3 คน ให้เลือกขนาด 150วัตต์ก็พอ แต่หากเป็นครอบครัวใหญ่และชอบใช้น้ำในเวลาใกล้เคียงกันก็ต้องใช้ปั๊มที่มีกำลังวัตต์สูงขึ้นด้วย คิดง่ายๆถ้าเป็นบ้านเดี่ยวหรือตึกแถว 2-3 ชั้นมีห้องน้ำ 2-3 ห้องก็ควรเลือกใช้ขนาด 250-300 วัตต์ขึ้น การเลือกขนาดของถังเก็บน้ำให้เหมาะกับผู้อยู่อาศัยในบ้านคิดง่ายก็คือ คนเราใช้น้ำเฉลี่ยวันละ 200 ลิตร (ทั้งดื่มและใช้) ถ้าบ้านเรามีสมาชิก 4 คนก็เอา 200 คูณเข้าไปแล้วบวกกับจำนวนวันที่ต้องการสำรองน้ำไว้ใช้ยามคับขัน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็เป็นตัวเลขของถังเก็บน้ำที่ควรซื้อมาใช้งานนั่นเอง
วิธีเลือกปั๊มน้ำใช้ในบ้าน
หลักคือจำนวนจุดที่จ่ายน้ำและความสูงของบ้าน
“ปั๊มน้ำ” เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มแรงดันน้ำในเส้นท่อให้มีมากขึ้น เหมาะสำหรับบ้านที่ต้องการใช้น้ำภายในบ้านในเวลาเดียวกันหลายจุด เพื่อให้ทุกจุดมีความแรงของน้ำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ไหลอ่อนจนเกินไป และต้องใช้ร่วมกับถังเก็บน้ำภายในบ้านเท่านั้นไม่สามารถต่อตรงกับท่อประปาสาธารณะได้ เพราะผิดกฏหมาย
ไม่ติดตั้งปั๊มน้ำได้หรือไม่
ตามปกติแล้วท่อประปามีแรงดันในเส้นท่อที่สามารถจ่ายน้ำในบ้านพักอาศัย 2 ชั้นได้ แต่หากมีการเปิดน้ำภายในบ้านพร้อมกันหลายจุดเกินไป อาจเกิดกรณีน้ำบางจุดไหลอ่อนบ้างแรงบ้าง ไม่สม่ำเสมออันเนื่องมาจากน้ำในเส้นท่อมีแรงดันไม่เพียงพอ ปั๊มน้ำจึงกลายมาเป็นอุปกรณ์สำคัญภายในบ้านพักอาศัย เพื่อให้ใช้น้ำได้สะดวกขึ้น ซึ่งที่เรารู้จักกันทั่วไป คือ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ที่แบ่งได้หลัก ๆ เป็น 2 ประเภท คือ ปั๊มชนิดถังแรงดัน และปั๊มชนิดแรงดันคงที่
“ปั๊มน้ำ” เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มแรงดันน้ำในเส้นท่อให้มีมากขึ้น เหมาะสำหรับบ้านที่ต้องการใช้น้ำภายในบ้านในเวลาเดียวกันหลายจุด เพื่อให้ทุกจุดมีความแรงของน้ำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ไหลอ่อนจนเกินไป และต้องใช้ร่วมกับถังเก็บน้ำภายในบ้านเท่านั้นไม่สามารถต่อตรงกับท่อประปาสาธารณะได้ เพราะผิดกฏหมาย
ไม่ติดตั้งปั๊มน้ำได้หรือไม่
ตามปกติแล้วท่อประปามีแรงดันในเส้นท่อที่สามารถจ่ายน้ำในบ้านพักอาศัย 2 ชั้นได้ แต่หากมีการเปิดน้ำภายในบ้านพร้อมกันหลายจุดเกินไป อาจเกิดกรณีน้ำบางจุดไหลอ่อนบ้างแรงบ้าง ไม่สม่ำเสมออันเนื่องมาจากน้ำในเส้นท่อมีแรงดันไม่เพียงพอ ปั๊มน้ำจึงกลายมาเป็นอุปกรณ์สำคัญภายในบ้านพักอาศัย เพื่อให้ใช้น้ำได้สะดวกขึ้น ซึ่งที่เรารู้จักกันทั่วไป คือ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ที่แบ่งได้หลัก ๆ เป็น 2 ประเภท คือ ปั๊มชนิดถังแรงดัน และปั๊มชนิดแรงดันคงที่
ปั๊มแบบถังแรงดัน (ทรงกระบอก)
ปั๊มชนิดนี้ทำงานโดยใช้หลักการให้น้ำไปแทนที่อากาศ เพื่อใช้แรงดันของอากาศในการปั๊มน้ำออกไปใช้งานในส่วนต่างๆ ของอาคาร มีราคาย่อมเยาว์ ดูแลรักษาง่าย ทนทาน ให้แรงดันน้ำสูงกว่าปั๊มชนิดแรงดันคงที่เมื่อเทียบในกำลังวัตต์ที่เท่ากัน แต่มีข้อเสียคือให้แรงดันน้ำไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากต้องใช้แรงดันของอากาศเพื่อดันน้ำออกไป ดังนั้นหากเปิดใช้พร้อมกันหลายๆจุดอาจทำให้ความแรงของน้ำแต่ละจุดมีปริมาณไม่เท่ากันได้ นอกจากนี้ในปั๊มบางรุ่นมีการใช้วัสดุในการผลิตตัวถังเป็นเหล็กชนิดบาง จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเสียงดังได้ ข้อควรระวังสำหรับปั๊มน้ำชนิดนี้คือ การที่วัสดุตัวถังทำด้วยเหล็กและเคลือบกันสนิมภายใน เมื่อใช้ไปเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดสนิมบริเวณตัวถังขึ้นได้ เนื่องจากวัสดุเคลือบกันสนิมหมดอายุ จึงควรวางในพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง นอกจากนี้ในปัจจุบันเจ้าของบ้านยังสามารถเลือกใช้เป็นถังที่ผลิตจากสเตนเลสที่มีความทนทานมากกว่า
ปั๊มแบบแรงดันคงที่หรือแบบอินเวิร์ทเตอร์ (ทรงเหลี่ยม)
ปั๊มแรงดันคงที่เป็นปั๊มน้ำที่ให้แรงดันน้ำสม่ำเสมอ เหมาะกับบ้านที่มีการใช้น้ำหลายจุดและอุปกรณ์ที่ต้องการแรงดันน้ำที่คงที่ อาทิเช่น เครื่องทำน้ำอุ่น ข้อดีของปั๊มชนิดนี้คือ มีการทำงานโดยใช้ตัวช่วยในการเพิ่มแรงดัน อาทิ แก๊สไนโตรเจน ทำให้มีรอบในการอัดอากาศคงที่ ส่งผลให้การจ่ายน้ำมีปริมาณสม่ำเสมอ เช่น ถ้าเจ้าของบ้านใช้น้ำพร้อมกันทั้ง 3 จุด ปริมาณแรงดันน้ำก็จะมีปริมาณเท่ากันทั้ง 3 จุด เป็นต้น ปั๊มชนิดนี้มีเสียงเบาและขนาดที่เล็กกว่า แต่มีราคาสูงกว่าชนิดแบบถังแรงดัน (ทรงกระบอก) ส่วนข้อจำกัดของปั๊มชนิดนี้คือ เมื่อเกิดปัญหารั่วซึมของถังความดัน จะไม่สามารถดำเนินการแก้ไขเติมก๊าซเองได้ ต้องถอดเปลี่ยนเท่านั้น แต่ปัจจุบันเริ่มมีชนิดที่ใช้อากาศเป็นตัวช่วยในการเพิ่มแรงดันบ้างแล้ว ซึ่งสามารถช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ชิ้นส่วนวัสดุที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นพลาสติกแข็ง จึงทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องสนิมมากนัก แต่ก็ไม่ควรตั้งปั๊มชนิดนี้ไว้กลางแจ้งโดยไม่มีหลังคาคลุม เพราะอาจทำให้ปั๊มน้ำมีอายุสั้นลงกว่าที่ควร
ปั๊มน้ำขนาดไหนดี
ผู้ผลิตปั๊มน้ำแต่ละรายมักมีแนวทางง่าย ๆ ที่จะให้เจ้าของบ้านเลือกปั๊มแต่ละชนิดให้เหมาะสมกับพื้นที่การใช้งานภายในบ้านอยู่แล้ว อาทิเช่น บ้าน 1 ชั้นควรใช้ปั๊มน้ำประมาณ 150 w บ้าน 2 ชั้น 250 w และ บ้าน 3-4 ชั้น 400 w เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่ผู้ผลิตแต่ละรายนำมาเป็นแนวทางนั้น ก็มาจากการประมาณอัตราการใช้น้ำของอาคารแต่ละประเภท ประกอบกับความสูงของตัวอาคารนั่นเองค่ะ
ปัจจุบันตามท้องตลาดทั่วไปเรามักจะเรียกชื่อปั๊มน้ำตามขนาดของมอเตอร์(กำลังวัตต์)ที่ใช้งาน แต่ขนาดมอเตอร์ดังกล่าวไม่ได้แสดงถึงความสามารถในการไหลของน้ำแต่อย่างใด ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกขนาดของปั๊มน้ำ เจ้าของบ้านสามารถคำนวณหาขนาดของปั๊มน้ำที่เหมาะสมกับบ้านของตนเองเบื้องต้น เพื่อเป็นข้อมูลในการเลือกซื้อได้อย่างมั่นใจ โดยมีปัจจัยที่ควรพิจารณาดังนี้
1. จุดจ่ายน้ำและปริมาณน้ำที่ต้องการใช้พร้อมกันภายในบ้านทั้งหมด ว่ามีปริมาณกี่ลิตร/นาที โดยพิจารณาร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆภายในบ้าน ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชนิดก็จะมีความต้องการในการจ่ายน้ำที่ไม่เท่ากัน
2. จำนวนคนที่อาศัยอยู่ภายในบ้าน เพื่อให้ทราบว่าจะมีปริมาณน้ำที่ต้องการใช้เท่าไหร่ เพื่อเลือกใช้ปั๊มน้ำได้อย่างเหมาะสม
3. บริเวณความสูงที่สุดของจุดจ่ายน้ำภายในบ้าน เพื่อนำมาพิจารณากับปั๊มแต่ละชนิดว่ามีประสิทธิภาพในการจ่ายน้ำได้ตามความสูงที่ต้องการหรือไม่
ตัวอย่างการพิจารณาเลือกขนาดปั๊มน้ำ
บ้านเดี่ยว 2 ชั้น (ความสูงถึงจุดที่ต้องการจ่ายน้ำประมาณ 7 เมตร) มีจำนวนก๊อกน้ำภายในบ้านทั้งหมด 6 จุด แต่มีโอกาสใช้พร้อมกันทั้งหมด 3 จุด หลักการในการเลือกปั๊มน้ำมีดังนี้
1. ระยะส่งของปั๊มน้ำ ในกรณีนี้เป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น (ความสูงถึงจุดที่ต้องการจ่ายน้ำประมาณ 7 เมตร) ควรเผื่อค่าแรงเสียดทานที่อาจเกิดขึ้นในท่ออีกประมาณ 30% ดังนั้นควรเลือกปั๊มน้ำที่มีระยะส่งไม่น้อยกว่า 9 เมตร
2. ปริมาณน้ำ (ลิตร/นาที) กรณีนี้ให้พิจารณาจากช่วงเวลาที่มีโอกาสใช้น้ำพร้อมกันทั้งบ้าน สำหรับบ้านหลังนี้มีโอกาสใช้น้ำพร้อมกันทั้งหมด 3 จุด ซึ่งตามปกติก๊อกน้ำมีอัตราการจ่ายน้ำประมาณ 9 ลิตร/นาที (โดยปริมาณน้ำดังกล่าวที่คำนวนมานี้อาจเป็นเพียงแค่ค่าประมาณเท่านั้น หากต้องการความแม่นยำมากขึ้นอาจจะต้องทำการพิจารณาเป็นเฉพาะอุปกรณ์ เนื่องจากอาจจะมีอุปกรณ์บางชนิดที่มีอัตราจ่ายน้ำมากกว่าค่ามาตรฐาน อาทิเช่น ฟลัชวาล์ว หรือ Rain shower เป็นต้น ซึ่งสามารถตรวจสอบปริมาณการใช้น้ำที่อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้จากฉลากที่ติดมากับตัวอุปกรณ์) ดังนั้นปริมาณน้ำขั้นต่ำที่บ้านหลังนี้ต้องการใช้ในระยะเวลาเดียวกันคือ 27 ลิตร/นาที หากตารางผลิตภัณฑ์มีระบุจำนวนก๊อกน้ำ อาจใช้ข้อมูลดังกล่าวร่วมด้วยเพื่อช่วยในการตัดสินใจ ปัจจุบันปั๊มน้ำกลายเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่มีความสำคัญสำหรับเจ้าของบ้านอย่างเรา ๆ มากทีเดียว เนื่องด้วยจำนวนผู้อยู่อาศัยที่มากขึ้นส่งผลให้อุปกรณ์ในการใช้น้ำก็ต้องมีมากขึ้นไปโดยปริยาย รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ช่างทันสมัยและต้องการแรงดันน้ำที่มากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นหากเรามีหลักการในการเลือกใช้ปั๊มน้ำอย่างเหมาะสม เจ้าของบ้านจะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องแรงดันน้ำที่ไม่เพียงพออีกต่อไป ทั้งสบายใจและสบายกระเป๋าเลยล่ะค่ะ
ชั้นความดันของท่อพีวีซี คืออะไร ?
ความหมายของตัวเลขบนท่อPVC
ท่อPVC มีหลายแบบให้เลือกใช้ โดยระบุเป็นตัวอักษรและตัวเลขไว้บนท่อเลย แม้จะใช้กันมายาวนานแต่หลายคนยังไม่รู้ความหมายที่พิมพ์เอาไว้บนท่อ จะอธิบายเป็นข้อๆเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น
ชื่อยี่ห้อ หรือผู้ผลิตท่อประปา PVC ซึ่งมีหลายเจ้า หลายรายให้เลือกตามความพอใจ
ขนาดท่อ คือความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ มีทั้งหน่วยมิลลิเมตรแล้วตามด้วยหน่วยนิ้ว เช่น 18 (1/2″) คือ ท่อขนาด 18 มิลลิเมตร หรือ 1/2 นิ้ว , 20 (3/4″) คือ ท่อขนาด 20 มิลลิเมตร หรือ 3/4 นิ้ว และ 25 (1″) คือ ท่อขนาด 25 มิลลิเมตร หรือ 1 นิ้ว ซึ่งที่กล่าวมาทั้ง 3 ขนาด มักใช้ตามบ้านพักอาศัยทั่วไป
ชั้นคุณภาพ หรือที่เรียกสั้นๆว่า คลาส บอกเป็นตัวเลข เช่น 5 , 8.5 และ 13.5 ใช้บอกคุณสมบัติความทนทานต่อแรงดันน้ำในเส้นท่อ ซึ่ง 5 หมายถึงรับแรงดันได้ 5 บาร์ , 8.5 คือ รับแรงดันได้ 8.5 บาร์ และ สุดท้าย 13.5 คือ รับแรงดันได้ถึง 13.5 บาร์
มอก. หรือมาตรฐานอุตสาหกรรม ท่อที่ดี มีคุณภาพ ต้องมี มอก. ระบุเอาไว้ด้วยเพื่อความมั่นใจ ซึ่ง มอก. 17-2532 เป็นมาตรฐานท่อพีวีซีแข็ง สำหรับใช้เป็นท่อน้ำดื่ม มีสีฟ้า ความยาวมาตรฐาน 4 เมตร และ มอก. 1131-2535 เป็นมาตรฐานข้อต่อพีวีซีแข็ง สำหรับใช้กับท่อรับแรงดัน มีสีฟ้า เช่นกัน
ท่อPVC ขนาด 1/2 นิ้ว และ 3/4 นิ้ว คลาส 8.5 และ 13.5 นั้น ถ้าถามว่า สำหรับบ้านพักอาศัย ควรใช้ท่อคลาสไหนดี เพราะแต่ละคนย่อมมีเหตุผลเป็นของตัวเองอยู่ในใจ แต่ขอตั้งข้อสังเกตไว้นิดนึงว่า
– ปั๊มน้ำอัตโนมัติที่ใช้งานตามบ้านพักอาศัย เกือบทั้งหมด แรงดันไม่เกิน 3 บาร์ เพราะฉะนั้นท่อคลาส 8.5 ก็น่าจะพอ
– ท่อประปา PVC ส่วนมากไม่มีปัญหาเรื่องแรงดันน้ำดันท่อแตก แต่มีปัญหาเรื่องแรงดันน้ำดันข้อต่อหลุดออกจากเส้นท่อ เนื่องจากการทากาวไม่มากพอ ใช้กาวคุณภาพต่ำ ใช้กาวผิดประเภท หรือสวมข้อต่อท่อไม่ลึกพอ
– ท่อที่ขนาดเท่ากัน อาจมีความหนาไม่เท่ากัน โดยดูได้จากตัวเลขคลาส เช่น ท่อคลาส 13.5 มีความหนากว่าคลาส 8.5 ซึ่งถ้าช่องว่างที่เป็นทางผ่านของน้ำน้อย แรงเสียดทานจะมากขึ้น กินกำลังปั๊มน้ำมากขึ้น หากเป็นท่อที่วางในพื้นที่การเกษตรจะเห็นว่ามีผลทำให้ปริมาณน้ำต่อนาทีลดลง แต่ความยาวของระบบท่อในบ้านพักอาศัยสั้นกว่าจึงไม่ค่อยเห็นความแตกต่าง