บทความเกี่ยวกับเทปพันเกลียว

ปัญหาน้ำรั่วซึมบริเวณก๊อกน้ำ สาเหตุจากการเลือกใช้เทปพันเกลียวไม่ถูกหลักใช้งาน

 

ตัดต้นต่อปัญหารั่วซึม เทปพันเกลียวที่มีคุณภาพ เทปพันเกลียวตราช้างเนื้อเหนียวไม่ขาดง่าย เพียงเลือกใช้ให้ถูกงาน อย่างเช่น"ปัญหาน้ำรั่วซึมบริเวณก๊อกน้ำ" แม้จะดูเล็กน้อยแต่แท้จริงอาจสร้างปัญหาใหญ่ตามมาได้ อย่างบิลค่าน้ำที่เพิ่มขึ้นสูง หรือ รอยคราบน้ำตามผนังที่ขัดไม่ออก รวมถึงน้ำที่นองพื้นอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการเลือกใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมในการวางระบบท่อประปาระหว่าง"จุดเชื่อมต่อท่อน้ำ" ซึ่งเป็นข้อต่อแบบเกลียวใน กับ อุปกรณ์ที่มีหัวต่อเป็นเกลียวโลหะ เช่นก๊อกน้ำ,สต๊อปวาล์ว โดยควรเลือกใช้  ข้อต่อเกลียวในทองเหลือง ในการเชื่อมต่อ เมื่อพันเทปกับอุปกรณ์แล้วเทปต้องแนบติดสนิทเข้ากับร่องเกลียว และพันเทปในจำนวนรอบที่เหมาะสมติดกันแน่นสนิท จะทำให้น้ำไม่รั่วซีม การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นการจะมีระบบท่อดีๆไม่มีปัญหานั้นไม่ใช่เรื่องยากเพียงแค่เราใส่ใจเลือกใช้สินค้าที่มีคุณภาพ และเหมาะสมกับการใช้งาน  ขอบคุณบทความดีๆจาก วารสารท่อตราช้างคลับ

หลักในการพันเทปพันเกลียว

ช่างมือใหม่ที่ลองทำงานซ่อมเองหลายคนคงสงสัยว่าควรพัน เทปเกลียวท่อประปา กี่รอบดี เพื่อไม่ให้ท่อแตกเพราะจะกลายเป็นเรื่องใหญ่สำหรับช่างในบ้านทันที                                                                                       

              การพันเทปพันเกลียวท่อประปา ที่ถูกต้อง  เนื่องจากเทปพันเกลียวบางยี่ห้อมีคุณภาพไม่ตรงฉลาก แม้จะระบุความหนาของเนื้อเทป 0.1 เหมือนๆ กัน แต่เมื่อลองจับเนื้อเทปกลับรู้สึกได้ถึงความหนาหรือบางที่แตกต่าง ทำให้ช่างมือใหม่ปวดหัวไม่น้อย โดยทั่วไปนิยมใช้เป็นแบบแถบ 12 มิลลิเมตร  และเกลียวแบบแถบเทปกว้างๆ ก็มีขายเมื่อเทปพันเกลียวมีหลายตัวเลือก คุณภาพหลากหลาย หนาบ้าง บางบ้าง จึงไม่สามารถบอกเป็นจำนวนรอบที่แน่นอนได้ เทปแบบบาง เมื่อพันหลายรอบจนดูหนามาก ถ้าเทปมันพองฟู มีอากาศแทรกอยู่ระหว่างชั้น พอขันเกลียวเข้าไป จะรู้สึกว่าหลวม ในขณะที่เทปหนาหน่อย พันจำนวนรอบน้อย ดูไม่หนา แต่เทปไม่ฟู พอขันเกลียวเข้าไป กลับรู้สึกถึงความตึงมือ จนกลัวว่าท่อจะแตก และถ้าเป็นเทปแถบกว้าง จำนวนรอบก็จะน้อยลงเล็กน้อย แต่ก็ขึ้นอยู่กับความหนาของเทปอยู่ดี                                             

              จำนวนรอบการพันเทปที่เหมาะสมคือ ต้องลองดู จึงไม่ผิดแต่อย่างใด วิธีนี้ใช้ได้กับเกลียวของก๊อกหรือท่อยี่ห้อต่างๆ ที่มีขนาดต่างๆกัน หากทดลองขันเกลียวก่อนพันด้วยเทปพันท่อ จะรู้สึกว่าแต่ละยี่ห้อหลวมไม่เท่ากัน หรือแม้กระทั่งต่างรุ่นกันก็หลวมไม่เท่ากัน จึงเป็นขั้นตอนเริ่มต้นที่ควรจะทำ คือ ขันก๊อกน้ำ เข้าไปในเกลียวท่อก่อน โดยไม่พันเทป เพื่อทดสอบความหลวม ถ้ารู้สึกว่าหลวมมาก ก็พันเทปมากหน่อย ถ้าหลวมน้อย ก็พันเทปน้อยหน่อย จากนั้นลองขันเกลียวดูอีกครั้ง ถ้ารู้สึกว่าน้อยไป ก็พันเทปเพิ่มได้ ถ้ามากไป ก็ดึงเทปทิ้งไปหน่อยได้เช่นกัน สิ่งสำคัญคือ หลังจากพันเทปพันเกลียวท่อน้ำแล้ว ไม่ควรใช้เครื่องมือช่วยขันก๊อกน้ำหรือก๊อกฝักบัว ใช้เพียงมือหมุนก็พอ เพราะการใช้เครื่องมือช่วยจะเบาแรงเรามากจนไม่รู้สึกถึงความตึงมือ ขันยังไงก็เข้า ในที่สุดก็อาจพบปัญหาเรื่องท่อแตกได้ ควรใช้เพียงมือเปล่าหมุนให้รู้สึกตึงมือก็พอ เมื่อติดตั้งเสร็จและทดลองระบบน้ำแล้ว หากยังมีน้ำซึมก็ถอดออกมาพันเกลียวเพิ่มอีกนิดก็ยังได้ ค่อยๆทำแบบนี้จะไม่พลาดจนท่อแตกแน่นอน เพราะบางทีพันแน่นเกินไป อาทิตย์นี้ใช้ได้ อาทิตย์หน้าแตกก็ยังมี แม้จะเป็นช่างประปาก็ทำพลาดมานักต่อนักแล้ว ต้องระวัง